หน้าแรก > เกี่ยวกับเรา > กำกับดูแลกิจการที่ดี
บริษัทได้จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ของบริษัท ให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยทั่วกันโดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นผู้ถือหุ้นอยู่จำนวนเท่าใด ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคล นิติบุคคล รวมถึงผู้ถือหุ้นประเภทสถาบัน ทั้งที่เป็นสัญชาติไทย และต่างประเทศ โดยทุกครั้งที่มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทจะปฏิบัติตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัดอย่างเคร่งครัด
(ก) บริษัทมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น โดยการจัดส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารประกอบให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าอย่างเพียงพอและทันเวลา (อย่างน้อย 14 วันก่อนวันประชุม) ซึ่งในหนังสือนัดประชุมดังกล่าวจะแจ้งรายละเอียด อันประกอบด้วย วัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุม ตลอดจนข้อมูลที่สำคัญเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ รวมไปถึงการมอบฉันทะของผู้ถือหุ้น เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทเป็นการล่วงหน้าก่อนที่จะจัดส่งเอกสารไปยังผู้ถือหุ้น
(ข) ประธานในที่ประชุมจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ เหมาะสม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม โดยในระหว่างการประชุม ประธานได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความเห็นและซักถามต่อที่ประชุมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบริษัทอย่างเต็มที่
(ค) ประธานกรรมการ รวมทั้งกรรมการทุกคน จะเข้าร่วมประชุมและตอบข้อซักถามของผู้ถือหุ้น ยกเว้นกรณีเหตุสุดวิสัยจนไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้
บริษัทได้คำนึงถึงสิทธิขอผู้ถือหุ้นถึงแม้ว่าผู้ถือหุ้นแต่ละรายจะถือหุ้นไม่เท่ากัน มีสิทธิในการออกเสียงไม่เท่ากัน แต่บริษัทจะปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
(ก) ผู้ถือหุ้นทุกคนจะได้รับข้อมูลข่าวสารของบริษัท ผ่านช่องทางเว็บไซต์ รวมถึงสามารถติดต่อสอบถามข้อมูล รวมถึงข้อร้องเรียนต่างๆ ผ่านทางอีเมล์ (Email) และทางโทรศัพท์
(ข) ผู้ถือหุ้นมีสิทธิมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุม และลงมติในที่ประชุมแทนผู้ถือหุ้น ผู้รับมอบฉันทะที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีหนังสือรับมอบฉันทะที่ถูกต้องมีสิทธิที่จะเข้าประชุม และลงมติเช่นเดียวกันกับผู้ถือหุ้นทุกประการ
(ค) บริษัทกำหนดให้กรรมการบริษัทอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องมีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคนเข้าร่วมประชุม โดยจะแจ้งให้ผู้ตรวจสอบบัญชี (ภายนอก) และที่ปรึกษาต่างๆ เข้าร่วมประชุมด้วย และจะกำหนดสถานที่และเวลาที่ประชุมให้เหมาะสมและสะดวกในการที่ผู้ถือหุ้นจะเข้าร่วมประชุม
บริษัทจะดูแลให้มีความเท่าเทียมกันในสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น คู่ค้า เจ้าหนี้ ลูกหนี้ คู่แข่ง หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สภาพแวดล้อม ชุมชนต่างๆ เนื่องจากความสำคัญของการร่วมมือกันระหว่างบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้จะสร้างความมั่นคง สร้างงาน และสร้างกิจการให้บริษัทมีฐานะการเงินที่มั่นคง ดังนั้นนอกจากคณะกรรมการจะมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว คณะกรรมการยังต้องตระหนักถึงการดูแลให้ผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติที่ดี โดยปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดและดูแลให้ความมั่นใจว่าสิทธิดังกล่าวได้รับความคุ้มครองและปฏิบัติด้วยดีอย่างเท่าเทียมกัน
ผู้ถือหุ้น
บริษัทมุ่งเน้นให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมโดยดำเนินการให้มีผลประกอบการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และมีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม และเพียงพอที่จะปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น
ลูกค้า
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของลูกค้า จึงมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า โดยการนำเสนอบริการที่มีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด รวมถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนในเงื่อนไขต่าง ๆ ของการให้บริการของบริษัทฯ เพื่อให้ลูกค้ามีความเข้าใจ และเกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของบริษัท และยังรวมถึงการรับฟังข้อร้องเรียนต่าง ๆ ของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนา และปรับปรุงการให้บริการที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
พนักงาน
บริษัทคัดเลือกบุคลากรที่มาเข้าร่วมในการทำงานโดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน รวมถึงมุ่งพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมพนักงานให้มีโอกาสในความก้าวหน้าและมั่นคงในอาชีพ ตลอดจนปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยจัดให้มีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
เจ้าหนี้และคู่ค้า
บริษัทยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจกับเจ้าหนี้และคู่ค้าทุกประเภทอย่างยุติธรรมและมีจริยธรรม โดยปฏิบัติตามธรรมเนียมการค้า รวมถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้ตกลงร่วมกันรวมถึงการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
คู่แข่งทางการค้า
บริษัทปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าอย่างเป็นธรรม และไม่ดำเนินธุรกิจที่นำมาซึ่งการผิดจริยธรรม หรือผิดจรรยาบรรณทางการค้าต่อคู่แข่ง โดยบริษัทฯ จะยึดหลักปฏิบัติตามธรรมเนียมการค้า รวมถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้ตกลงร่วมกัน รวมถึงการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
ความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
บริษัทจะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความร่วมมือ ดูแล และให้ความใส่ใจต่อชุมชม สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวม รวมทั้งมุ่งปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบวิธีที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถ Download ข้อมูลได้ที่ www.krungthai.co.th ในส่วนของรายงานประจำปี 2559 และรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำปี2559
บริษัทฯ มุ่งเน้นให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และทันเวลา รวมทั้งสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้ คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศของบริษัท ทั้งในรูปของข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เพื่อให้ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันตามที่กฎหมาย และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกำหนด
บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลที่มีความโปร่งใสและทั่วถึง ทั้งในส่วนการดำเนินงานของบริษัทฯตลอดจนข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ โดยได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านทางระบบ Set Community Portal หรือระบบ SCP ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสื่อต่างๆ เพื่อให้ผู้ลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน อีกทั้งบริษัทฯยังได้เผยแพร่ข้อมูลธุรกิจของบริษัทฯผ่านทางเว็บไซด์ www.krungthai.co.th เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาดูข้อมูลทั่วไป และหากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อบริษัทฯได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 02-291-8888
คณะกรรมการของบริษัทฯ มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการกำกับดูแลกิจการเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท และมีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้น รวมทั้งต้องมีภาวะผู้นำ และสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
(ก) องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการ
(ข) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งหมด 8 ข้อ ดังนี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทจะต้องไม่อนุมัติรายการใดๆ ที่ตนเองหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผล ประโยชน์ มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดกับบริษัทและหรือบริษัทย่อย
นอกจากนี้ คณะกรรมการยังมีขอบเขตหน้าที่ ในการกำกับดูแลให้บริษัท ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ อาทิ การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการซื้อหรือขายทรัพย์สินที่สำคัญตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
(ค) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบ แต่งตั้งขึ้นจากคณะกรรมการของบริษัทอย่างน้อย 3 ท่าน โดยอย่างน้อย 1 ใน 3 ท่านต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านของบัญชี และการเงิน โดยคณะกรรมการตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติเกี่ยวกับความเป็นอิสระตามประกาศคณะกรรมการหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่องคุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ในการตรวจสอบ และกำกับดูแลในการดำเนินงานของบริษัท ดูแลรายงานทางการเงิน การควบคุมภายใน การพิจารณาข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตลอดจนการพิจารณาการบริหารความเสี่ยงของบริษัท
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้
(ง) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งหมด 8 ข้อ ดังนี้
คณะกรรมการบริหารอาจจะมอบหมาย และกำหนดอำนาจหน้าที่ ให้กรรมการบริหารแต่ละคนสามารถดำเนินการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ ตามข้อ 3. ก็ได้ โดยกรรมการบริหารดังกล่าว จะต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายนั้นโดยตรงต่อคณะกรรมการบริหาร
ทั้งนี้ การอนุมัติรายการของคณะกรรมการบริหารข้างต้น จะไม่รวมถึงการอนุมัติรายการที่คณะกรรมการบริหารหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใด กับบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย รวมทั้งรายการที่กำหนดให้ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการได้มา หรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
(จ) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้
(ฉ) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้
(ช) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้
(ซ) ภาวะผู้นำ
คณะกรรมการบริษัทวางนโยบาย กลยุทธ์และเป้าหมาย ตลอดจนการจัดทำงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ โดยทำหน้าที่ติดตามผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามแผนงานต่างๆ รวมทั้งการกำหนดและแยกบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร ผู้บริหาร พนักงานและผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังต้องกำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ดูแล ฝ่ายตรวจสอบภายใน การปฏิบัติงาน และประเมินผลการทำงาน ตลอดจนระบบการควบคุมภายในให้มีความเพียงพอต่อกิจการ และดูแลให้มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับบริษัทอย่างเต็มที่
(ฌ) ความขัดแย้งของผลประโยชน์
แม้ว่าบริษัทจะมีคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร หรือผู้บริหาร ตลอดทั้งผู้ปฏิบัติงานฝ่ายต่างๆ บางรายเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย แต่นโยบายในการบริหารงานของบริษัทต้องเน้นถึงประโยชน์ของบริษัทโดยรวมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการตัดสินใจในเรื่องที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งในผลประโยชน์ หรือการได้เปรียบเสียเปรียบในผลประโยชน์นั้น บริษัทจะกำหนดให้กรรมการ กรรมการบริหารหรือผู้บริหารที่เป็นผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย เพื่อความเป็นอิสระในการตัดสินใจ และจะเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนรับทราบโดยทันทีเพื่อความโปร่งใสในการทำงาน อีกทั้งจะนำข้อมูลที่จำเป็นเปิดเผยไว้ในงบการเงิน รายงานประจำปีและแบบ 56-1 อย่างสม่ำเสมอ สำหรับการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทจะกำหนดให้คณะกรรมการบริหารรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และไม่ให้กรรมการบริหารหรือผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับทราบข้อมูลภายในเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลภายนอก หรือบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และไม่ให้ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วง 1 เดือน ก่อนที่งบการเงินเผยแพร่ต่อสาธารณชน
(ญ) จริยธรรมธุรกิจ
บริษัทจัดทำข้อพึงปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับจรรยาบรรณของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร และผู้ปฏิบัติงานฝ่ายต่างๆ เพื่อให้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีความเป็นธรรม ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะสื่อสารให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนรับทราบและถือปฏิบัติ ซึ่งบริษัทเชื่อว่าการให้ความสำคัญกับข้อพึงปฏิบัติที่ดีเหล่านี้จะสามารถยกมาตรฐานการกำกับดูแลให้สูงขึ้น อีกทั้งส่งเสริมความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนในการจัดการของบริษัท สร้างความยุติธรรมและความน่าเชื่อถือของตลาดทุน
(1) โครงสร้างคณะกรรมการ
บริษัทได้มีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต. และข้อบังคับของ ตลท. เรื่อง จำนวนกรรมการอิสระและกรมการตรวจสอบ ซึ่งกำหนดให้มีกรรมการอิสระให้เป็น 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ และต้องไม่ต่ำกว่า 3 คน โดยบริษัทได้มีกรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบจำนวน 3 ท่าน เป็นไปตามกฎเกณฑ์ข้างต้น
(2) การรวมหรือแยกตำแหน่ง
ประธานกรรมการบริษัทจะไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับกรรมการผู้จัดการ แต่เนื่องจากทั้งสองท่านเป็นตัวแทนจากกลุ่มผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกันและเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนั้น ในการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่างๆ ต้องกำหนดให้ต้องผ่านการเห็นชอบของกรรมการจากทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มกรรมการตรวจสอบซึ่งถือว่ามีความเป็นอิสระจะต้องมีบทบาทในการให้ความเห็นแก่บริษัทเป็นอย่างมากซึ่งจะทำให้เกิดการถ่วงดุลและการสอบทานการบริหารงานได้เป็นอย่างดี
(3) ค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการบริหาร และผู้บริหาร
บริษัทกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการ ให้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยจะคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่กรรมการต้องรับผิดชอบ รวมทั้งสามารถที่จะดูแลและรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการไว้ได้ ส่วนผู้บริหารจะได้รับผลตอบแทนโดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานของผู้บริหารแต่ละบุคคลรวมทั้งผลประกอบการโดยรวมของบริษัทเป็นสำคัญ การกำหนดค่าตอบแทนดังกล่าวจะพิจารณากลั่นกรองผ่านคณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน และได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ทั้งนี้บริษัทกำหนดให้มีการเปิดเผยนโยบายค่าตอบแทนและจำนวนค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารในรายงานประจำปีตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
(4) การประชุมคณะกรรมการ
บริษัทจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง โดยจะมีวาระการประชุมพร้อมเอกสารประกอบส่งให้กรรมการทุกคนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้กรรมการได้มีเวลาพิจารณาและศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอ อีกทั้งมีเลขานุการบริษัททำหน้าที่ดูแลการประชุมของคณะกรรมการบริษัท พร้อมทั้งบันทึกรายงานการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการจัดเก็บไว้อย่างถูกต้องครบถ้วนสามารถตรวจสอบได้
ทั้งนี้ในระหว่างปี หากมีวาระที่จะมีการพิจารณาในเรื่องของนโยบาย หรือประเด็นในเชิงธุรกิจ บริษัทฯ จะมีการเรียกประชุมกรรมการในระหว่างกาล ตามความเหมาะสม
ในการประชุมแต่ละคราวประธานที่ประชุมจะเปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละท่านแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระและมีการจัดสรรเวลาการประชุมอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในกรณีที่มีกรรมการท่านใดที่มีส่วนได้เสียใดๆในเรื่องที่พิจารณากรรมการจะแจ้งต่อที่ประชุมเพื่อรับทราบและจะต้องไม่เข้าร่วมในการแสดงความเห็นและไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติในเรื่องนั้นๆโดยจานวนองค์ประชุมขั้นต่าณขณะที่คณะกรรมการจะลงมติในที่ประชุมต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจานวนกรรมการทั้งหมด
(5) คณะอนุกรรมการ
คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยการกำกับดูแลกิจการของบริษัทโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่ง มีวาระการดำรงตำแหน่งตามระเบียบที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดซึ่งไม่เกินคราวละ 3 ปี กรรมการตรวจสอบต้องประกอบด้วย กรรมการอิสระที่ไม่เป็นผู้บริหารอย่างน้อยจำนวน 3 ท่าน
(6) ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน
บริษัทจัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อทำหน้าที่สอดส่องดูแลระบบการควบคุมภายในและตรวจสอบรายการที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีความมั่นใจว่าบริษัทมีระบบที่มีประสิทธิผล ซึ่งจะส่งเสริมความน่าเชื่อถือให้กับงบการเงิน ทั้งนี้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบเข้าสอบทานความมีประสิทธิภาพของระบบควบคุมภายในอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งครอบคลุมทั้งการดำเนินงาน และการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance Control) การจัดการความเสี่ยงและการให้ความสำคัญต่อรายการผิดปกติทั้งหลาย
(7) รายงานของคณะกรรมการ
คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินของบริษัท และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี (56-2) แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1) โดยงบการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนดตาม พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ โดยได้มีการเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวังรวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
(8) ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน
คณะกรรมการบริษัทเล็งเห็นความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลทั้งทางด้านการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน ดังนั้น บริษัทจึงมีนโยบายที่จะเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้องครบถ้วน ทันเวลาและโปร่งใส ตามมาตรฐานและเกณฑ์ที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเสนอให้กับผู้ถือหุ้นทุกท่านตลอดจนผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้รับทราบอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันการให้ข้อมูลแก่นักลงทุนอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างแผนกบัญชีกับฝ่ายบริหาร เพื่อทำให้นักลงทุนและผู้ที่ได้รับข่าวสารมีความเข้าใจในบริษัทได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้บริษัทได้รับการยอมรับและสนใจที่จะเข้ามาลงทุน อีกทั้งยังทำให้บริษัทได้รับมุมมองจากสาธารณชนที่ดีต่อบริษัท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการวางเป้าหมายและกลยุทธ์ของบริษัท
(9) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
บริษัทให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใสและทั่วถึง ทั้งในรูปของรายงานข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลทั่วไป ตลอดจนข้อมูลสำคัญที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท โดยได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อสารต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 รายงานประจำปีของบริษัท เป็นต้น เพื่อให้ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินงานตามหลักบรรษัทภิบาล โดยยึดถือหลักความรับผิดชอบ ความโปร่งใส ความเสมอภาค การสร้างคุณค่าของธุรกิจในระยะยาว และการส่งเสริมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจที่บริษัทฯ ยึดถือปฏิบัติ ได้แก่
นโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสเป็นธรรม รับผิดชอบและระมัดระวังภายใต้กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องบริษัทฯ จึงได้เข้าร่วมใน “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต” เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ
เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ มีนโยบายในการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่นกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ และเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น บริษัทฯ จึงได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น” เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน
ทั้งนี้ในรายงานฉบับนี้ จะกล่าวถึง “นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รับชั่น” ในบางส่วน และได้เปิดเผย “นโยบายต่อต้านคอรัปชั่น” ฉบับเต็ม ไว้บน website ของบริษัท www.krungthai.co.th
จรรยาบรรณและจริยธรรมของคณะกรรมการบริษัท
การบริหารงานของคณะกรรมการ ย่อมมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) หลายกลุ่มด้วยกัน เพื่อให้การบริหารงานของบริษัทเป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นธรรม ซึ่งจะประสบผลสำเร็จและเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ผู้บริหารพึงประสานผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งภายในและภายนอกบริษัท เพื่อให้เกิดดุลยภาพที่เหมาะสมโดยจะปฏิบัติตามแนวทางใน 6 หมวด ดังต่อไปนี้
หมวดที่ 1 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อบริษัท / ผู้ถือหุ้น
หมวดที่ 2 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อพนักงาน
หมวดที่ 3 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อลูกค้า
หมวดที่ 4 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อคู่ค้า / เจ้าหนี้ / ลูกหนี้
หมวดที่ 5 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า
หมวดที่ 6 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อสังคมส่วนรวม
จรรยาบรรณและจริยธรรมของผู้บริหารและพนักงานบริษัท
จรรยาบรรณและจริยธรรมของผู้บริหารและพนักงานบริษัท กำหนดเป็น 6 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อบริษัท
หมวดที่ 2 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน
การประพฤติปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ถูกต้องและเป็นธรรม รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติของพนักงานที่มีต่อกันและกันอย่างเหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความร่วมมือ และการประสานงานที่ดี ส่งเสริมความสามัคคีและพลังร่วมในการปฏิบัติงานของบริษัทดังนั้น เพื่อเสริมสร้างและรักษาคุณลักษณะที่ดีดังกล่าว พนักงานพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
หมวดที่ 3 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อลูกค้า
บริษัทมุ่งมั่นให้บริการแก่ลูกค้าอย่างดีที่สุด โดยให้ยึดถือวิธีการบริหารงานที่ซื่อสัตย์ สุจริต ต่อผู้รับบริการ ดังนั้นการดำเนินงานใดๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้า จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเรื่องหนึ่ง ซึ่งพนักงานพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
หมวดที่ 4 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อคู่ค้า / เจ้าหนี้ / ลูกหนี้ คู่แข่งทางการค้า
ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์หลายฝ่าย เช่น คู่ค้า/เจ้าหนี้/ลูกหนี้/คู่แข่งทางการค้านั้น บริษัทจำเป็นต้องว่างตัวเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือของทุกฝ่าย ในการนี้ พนักงานจึงต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ตามแนวทางดังต่อไปนี้
หมวดที่ 5 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะที่บริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นพัฒนาและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ดังนั้นพนักงานซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญและเป็นตัวแทนบริษัท พึงปฏิบัติดังนี้
หมวดที่ 6 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง
การประพฤติของพนักงาน แม้จะเป็นเรื่องส่วนตัวก็ตามย่อมจะมีผลกระทบถึงบริษัท และสังคมโดยส่วนรวม ดังนั้น พนักงานพึงประพฤติปฏิบัติและพัฒนาตนเองไปในทางที่เป็นคุณประโยชน์ต่อตนเองและบริษัทอยู่เสมอ กล่าวคือ
ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงานที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจอย่างเคร่งครัด
การดูแลให้มีการปฏิบัติตามและการทบทวน
บริษัทฯ กำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ ปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ใน คู่มือจรรยาบรรณนี้ อย่างเคร่งครัด มิใช่การปฏิบัติตามสมัครใจ และไม่สามารถอ้างอิงว่าไม่ทราบแนวปฏิบัติที่กำหนดขึ้น
ผู้บริหารทุกระดับในองค์กรจะต้องดูแลรับผิดชอบ และถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะดำเนินการให้พนักงานภายใต้สายบังคับบัญชาของตนทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตาม คู่มือจรรยาบรรณของบริษัท อย่างจริงจัง
บริษัทฯ ไม่พึงปรารถนาที่จะให้การกระทำใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย ขัดกับหลักจรรยาบรรณที่ดี หากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานผู้ใดกระทำผิดจรรยาบรรณที่กำหนดไว้ จะได้รับโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด และหากมีการกระทำที่เชื่อได้ว่าผิดกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับของภาครัฐ บริษัทฯจะส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดให้มีการทบทวนคู่มือ “ จรรยาบรรณ” เป็นประจำทุกปี
คณะกรรมการบริษัทฯ ถือว่าจริยธรรมธุรกิจ เป็นวินัยอย่างหนึ่ง ซึ่งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทำผิดวินัย ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคล
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามและส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตามจริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน โดยการกระทำต่อไปนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
การลงโทษทางวินัย
ตามระเบียบของบริษัทคำตัดสินของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือกรรมการผู้จัดการถือเป็นอันสิ้นสุด
ในกรณีที่มีการร้องเรียนบุคคลที่กระทำผิดที่มีตำแหน่งในระดับผู้บริหารขึ้นไปคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการรับเรื่องหาข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทให้ร่วมกันพิจารณาและกำหนดโทษตามที่เห็นสมควรดังนี้
หากมีข้อสงสัยว่าผู้บริหารและพนักงานท่านใดมีการกระทำผิดจรรยาบรรณ สามารถร้องเรียนกับผู้จัดการหรือตำแหน่งที่สูงกว่า หรือแผนกบุคคล เป็นลายลักษณ์อักษร
ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2560 เป็นต้นไป
(นายพิเทพ จันทรเสรีกุล)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการตรวจสอบประจำปี และผลการตรวจสอบที่มีนัยสำคัญของส่วนตรวจสอบภายใน โดยพิจารณาจากการรายงาน การติดตาม และข้อเสนอแนะตามรายงานผลการตรวจสอบภายใน พร้อมทั้งได้เสนอปรับกระบวนการตรวจสอบเน้นการประเมินความเสี่ยงในระดับกิจกรรมครอบคลุมงาน หน่วยงานที่มีความสำคัญ มีระดับความเสี่ยงสูง เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งได้สอบทานแบบประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณา ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัท มีความเหมาะสมเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ
ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ว่าจ้างให้ บริษัท เจอาร์ บิสสิเนส แอดไวซอรี่ จำกัด ดำเนินการตรวจสอบภายใน และทำงานคู่กับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในบริษัทฯ คุณสุพิชฌาย์ ขจรชัยกุล
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินงานตามหลักบรรษัทภิบาล โดยยึดถือหลักความรับผิดชอบ ความโปร่งใส ความเสมอภาค การสร้างคุณค่าของธุรกิจในระยะยาว และการส่งเสริมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจที่บริษัทฯ ยึดถือปฏิบัติ ได้แก่
นโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสเป็นธรรม รับผิดชอบและระมัดระวังภายใต้กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องบริษัทฯ จึงได้เข้าร่วมใน “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต” เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ
เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ มีนโยบายในการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่นกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ และเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น บริษัทฯ จึงได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น” เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน
ทั้งนี้ในรายงานฉบับนี้ จะกล่าวถึง “นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รับชั่น” ในบางส่วน และได้เปิดเผย “นโยบายต่อต้านคอรัปชั่น” ฉบับเต็ม ไว้บน website ของบริษัท www.krungthai.co.th
จรรยาบรรณและจริยธรรมของคณะกรรมการบริษัท
การบริหารงานของคณะกรรมการ ย่อมมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) หลายกลุ่มด้วยกัน เพื่อให้การบริหารงานของบริษัทเป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นธรรม ซึ่งจะประสบผลสำเร็จและเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ผู้บริหารพึงประสานผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งภายในและภายนอกบริษัท เพื่อให้เกิดดุลยภาพที่เหมาะสมโดยจะปฏิบัติตามแนวทางใน 6 หมวด ดังต่อไปนี้
หมวดที่ 1 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อบริษัท / ผู้ถือหุ้น
หมวดที่ 2 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อพนักงาน
หมวดที่ 3 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อลูกค้า
หมวดที่ 4 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อคู่ค้า / เจ้าหนี้ / ลูกหนี้
หมวดที่ 5 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า
หมวดที่ 6 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อสังคมส่วนรวม
จรรยาบรรณและจริยธรรมของผู้บริหารและพนักงานบริษัท
จรรยาบรรณและจริยธรรมของผู้บริหารและพนักงานบริษัท กำหนดเป็น 6 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อบริษัท
หมวดที่ 2 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน
การประพฤติปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ถูกต้องและเป็นธรรม รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติของพนักงานที่มีต่อกันและกันอย่างเหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความร่วมมือ และการประสานงานที่ดี ส่งเสริมความสามัคคีและพลังร่วมในการปฏิบัติงานของบริษัทดังนั้น เพื่อเสริมสร้างและรักษาคุณลักษณะที่ดีดังกล่าว พนักงานพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
หมวดที่ 3 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อลูกค้า
บริษัทมุ่งมั่นให้บริการแก่ลูกค้าอย่างดีที่สุด โดยให้ยึดถือวิธีการบริหารงานที่ซื่อสัตย์ สุจริต ต่อผู้รับบริการ ดังนั้นการดำเนินงานใดๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้า จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเรื่องหนึ่ง ซึ่งพนักงานพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
หมวดที่ 4 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อคู่ค้า / เจ้าหนี้ / ลูกหนี้ คู่แข่งทางการค้า
ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์หลายฝ่าย เช่น คู่ค้า/เจ้าหนี้/ลูกหนี้/คู่แข่งทางการค้านั้น บริษัทจำเป็นต้องว่างตัวเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือของทุกฝ่าย ในการนี้ พนักงานจึงต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ตามแนวทางดังต่อไปนี้
หมวดที่ 5 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะที่บริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นพัฒนาและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ดังนั้นพนักงานซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญและเป็นตัวแทนบริษัท พึงปฏิบัติดังนี้
หมวดที่ 6 ข้อพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง
การประพฤติของพนักงาน แม้จะเป็นเรื่องส่วนตัวก็ตามย่อมจะมีผลกระทบถึงบริษัท และสังคมโดยส่วนรวม ดังนั้น พนักงานพึงประพฤติปฏิบัติและพัฒนาตนเองไปในทางที่เป็นคุณประโยชน์ต่อตนเองและบริษัทอยู่เสมอ กล่าวคือ
ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงานที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจอย่างเคร่งครัด
การดูแลให้มีการปฏิบัติตามและการทบทวน
บริษัทฯ กำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ ปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ใน คู่มือจรรยาบรรณนี้ อย่างเคร่งครัด มิใช่การปฏิบัติตามสมัครใจ และไม่สามารถอ้างอิงว่าไม่ทราบแนวปฏิบัติที่กำหนดขึ้น
ผู้บริหารทุกระดับในองค์กรจะต้องดูแลรับผิดชอบ และถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะดำเนินการให้พนักงานภายใต้สายบังคับบัญชาของตนทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตาม คู่มือจรรยาบรรณของบริษัท อย่างจริงจัง
บริษัทฯ ไม่พึงปรารถนาที่จะให้การกระทำใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย ขัดกับหลักจรรยาบรรณที่ดี หากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานผู้ใดกระทำผิดจรรยาบรรณที่กำหนดไว้ จะได้รับโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด และหากมีการกระทำที่เชื่อได้ว่าผิดกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับของภาครัฐ บริษัทฯจะส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดให้มีการทบทวนคู่มือ “ จรรยาบรรณ” เป็นประจำทุกปี
คณะกรรมการบริษัทฯ ถือว่าจริยธรรมธุรกิจ เป็นวินัยอย่างหนึ่ง ซึ่งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทำผิดวินัย ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคล
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามและส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตามจริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน โดยการกระทำต่อไปนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
การลงโทษทางวินัย
ตามระเบียบของบริษัทคำตัดสินของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือกรรมการผู้จัดการถือเป็นอันสิ้นสุด
ในกรณีที่มีการร้องเรียนบุคคลที่กระทำผิดที่มีตำแหน่งในระดับผู้บริหารขึ้นไปคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการรับเรื่องหาข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทให้ร่วมกันพิจารณาและกำหนดโทษตามที่เห็นสมควรดังนี้
หากมีข้อสงสัยว่าผู้บริหารและพนักงานท่านใดมีการกระทำผิดจรรยาบรรณ สามารถร้องเรียนกับผู้จัดการหรือตำแหน่งที่สูงกว่า หรือแผนกบุคคล เป็นลายลักษณ์อักษร
ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2560 เป็นต้นไป
(นายพิเทพ จันทรเสรีกุล)
ประธานกรรมการ
ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1
บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด(มหาชน) (บริษัทฯ) ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสเป็นธรรม รับผิดชอบและระมัดระวังภายใต้กฎหมายระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย ในปี 2558 บริษัทฯ จึงได้เข้าร่วมใน “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น” เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ
เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ มีนโยบายการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันคอร์รัปชั่นกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ และเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น บริษัทฯ จึงได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น” เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน
นโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
“ ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท ยอมรับการทุจริตทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อมได้แก่การรับสิ่งของ ของขวัญ การเลี้ยงรับรอง เงินเรี่ยไร เงินบริจาคและผลประโยชน์อื่นใด ให้แก่ตนเองจากบุคคลที่ทำธุรกิจกับบริษัท” ให้ครอบคลุมถึงพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดให้มีการสอบทานการปฏิบัติงานตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
คอร์รัปชั่น (Corruption) หมายถึง การติดสินบนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ โดยการเสนอให้ สัญญา มอบให้ ให้คำมั่น เรียกร้อง หรือรับ ซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวกระทำหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจ หรือแนะนำธุรกิจให้กับบริษัทโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้า ให้กระทำได้
คำนิยาม “การให้สินบน”: หมายถึง การเสนอให้หรือรับสิ่งของ ของขวัญ รางวัล หรือผลประโยชน์อื่นใดให้แก่ ตนเอง หรือจากบุคคลซึ่งต้องการให้โน้มน้าวให้กระทำการบางอย่างที่ไม่สุจริต ผิดกฎหมายหรือผิดจรรยาบรรณของบริษัทฯ
คำนิยาม “การให้สิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด”: หมายถึง การให้สิทธิพิเศษในรูปของเงิน ทรัพย์สิน สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อเป็นสินน้ำใจ เป็นรางวัล หรือเพื่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
คณะกรรมการตรวจสอบ
มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุม เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
กรรมการผู้จัดการ คณะจัดการ และผู้บริหาร
มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นเพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งทบทวนให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปได้แก่สภาพธุรกิจระเบียบข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมายต่างๆเป็นต้น
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน
มีหน้าที่และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามนโยบายแนวปฏิบัติอำนาจดำเนินการระเบียบปฏิบัติและกฎหมายข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้นและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
บริษัทฯ ตระหนักดีว่า การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพันธมิตรทางธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของบริษัทพนักงานสามารถให้ หรือรับของขวัญ(Gifts) และ/หรือค่าบริการต้อนรับ (Hospitality) และ/หรือในรูปค่าใช้จ่ายอื่น (Others) แก่/จากบุคคลใดๆ ได้ หากเข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้
การรับสิ่งของ/ การให้สิ่งของ หรือผลประโยชน์อื่นใด : กำหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้
การรับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด
1) ห้ามมิให้ผู้บริหาร และพนักงาน ; รับ ขอรับเรี่ยไร ของขวัญการเลี้ยงรับรอง การให้บริการ การสนับสนุนทางการเงิน เงินรางวัลใด ๆ จากคู่ค้า เจ้าหนี้ หรือผู้มีส่วนได้เสียที่ทำธุรกิจกับบริษัท
การให้สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด:
2) เพื่อหลีกเลี่ยงการนำไปสู่การให้สินบน บริษัทกำหนดให้มีการสำรวจและตรวจสอบความเหมาะสมก่อนดำเนินการเพื่อป้องกันการนำไปสู่การทุจริต และกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้แทนองค์กร ในการมอบสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีข้อสงสัยหรือมีหลักฐานว่ามีกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานหรือบุคคลซึ่งกระทำการในนามบริษัทฯ คนใดได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชั่น จะต้องรายงานหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนต่อบริษัทฯ ได้ดังนี้
คุณสุพิชฌาย์ ขจรชัยกุล / หัวหน้าตรวจสอบภายใน
บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน)
455/1 ถ.พระราม 3 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120
1) บริษัทฯ จะจัดให้มีการทบทวนนโยบายฉบับนี้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (อย่างน้อยปีละครั้ง) โดยพิจารณาถึงสถานการณ์และความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบผลการประเมินความเสี่ยง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ควรมีเพื่อลดความเสี่ยง
2) ฝ่ายตรวจสอบจะตรวจสอบระบบการควบคุมภายในและกระบวนการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และรายงานประเด็นที่ตรวจพบอย่างเร่งด่วน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิผลในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ทั้งนี้จะหารือผลการตรวจสอบร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม และจะรายงานให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบต่อไป
จดหมายขอความร่วมมือปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น ดาวน์โหลดที่นี่
แจ้งเบาะแส การทุจริตคอรัปชั่น ดาวน์โหลดที่นี่
– ผู้เช่ามีอายุ 23 ปีขึ้นไป
– เอกสารประกอบการเช่ารถยนต์ระยะสั้น
บุคคลธรรมดา : บัตรประจำตัวประชาชน/หนังสือเดินทางตัวจริง, ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์, หนังสือรับรองการทำงานหรือสลิปเงินเดือนฉบับล่าสุด และบัตรเครดิต สำหรับล็อควงเงินค้ำประกัน บริษัท : หนังสือรับรองบริษัท และ ภพ.20, บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านกรรมการ, หนังสือมอบอำนาจ(กรณีกรรมการไม่ได้มาทำสัญญาด้วยตนเอง)
– รวมประกันภัยประเภท 1คุ้มครองด้านอุบัติเหตุ ให้กับรถยนต์ที่เช่า โดย “ผู้เช่า” เป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายส่วนแรกเป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท ในกรณีผู้เช่าเป็นฝ่ายผิด หรือไม่มี
– ราคาที่ชำระเป็นการชำระเฉพาะส่วนรถยนต์เช่าเท่านั้น ไม่รวมน้ำมัน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
– ผู้เช่าจะไม่สามารถสูบบุหรี่ หรือนำสัตว์เลี้ยงขึ้นรถ หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามดังกล่าว บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคิดค่าปรับสภาพรถยนต์
– บริษัทฯ ขอเรียนให้ท่านทราบว่า หากบริษัทฯ พบว่าข้อมูลที่ลูกค้าให้ไว้เบื้องต้นไม่ตรงตามความเป็นจริง บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจองของลูกค้า โดยเก็บค่าธรรมเนียม
หรือกรณที่ลูกค้าขอยกเลิกการเช่า ทางบริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าธรรมเนียมและ500 บาท(ยังไม่รวมภาษี และค่าธรรมเนียมธนาคารตามจริง) โดยจะโอนเงินคงเหลือเข้าบัญชีของลูกค้าโดยเร็ว
– กรณีที่บริษัทฯ ไม่สามารถจัดหารถยนต์ตามที่ลูกค้าต้องการได้ บริษัทฯ ยินดีโอนเงินเข้าบัญชีลูกค้าเต็มจำนวนที่ได้ทำรายการ ภายในไม่เกิน 5 วันทำการ
– ในวันที่รับรถหากลูกค้าไม่นำเอกสารประกอบการทำสัญญาให้ครบถ้วน บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกรายการเช่านั้นๆ โดยขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการตามจริง
– ชำระโดยระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิตออนไลน์
– ชำระโดยชำระผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร กรุณาติดต่อ
สาขาพระราม 3 โทร. 02-291-8888 เวลา 08.00-17.30 น. (จันทร์-เสาร์) หรือ E-Mail : carrent_rama3@krungthai.co.th
– ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง คิดชั่วโมงละ 20% ของอัตราเช่ารายวัน
– เกิน 3 ชั่วโมง คิดค่าเช่าเพิ่มครึ่งวัน
– เกิน 6 ชั่วโมง คิดค่าเช่าเพิ่ม 1 วัน